นโยบายการบริหารงาน

นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น

ผู้บริหารท้องถิ่นได้แถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลในปี 2554 ดังนี้

นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

  • พัฒนาและปรับปรุงถนนพร้อมท่อระบายน้ำและทางเท้าตรอกซอยให้ได้มาตรฐานเพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจรไป-มา
  • ปรับปรุงและขยายไฟฟ้าสาธารณะให้เพียงพอและทั่วถึง
  • พัฒนาและปรับปรุงสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้ได้มาตรฐานและเพียงพอกับความต้องการของประชาชน
  • ควบคุมการใช้ที่ดินให้เป็นไปตามผังเมืองรวม
  • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการในเขต เทศบาล
  • จัดระบบการจราจรการขนส่งและวางแนวทางแก้ไขปัญหาจราจรในเขตเทศบาล
  • จัดระเบียบและเตรียมการจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชุมชนย่อยต่าง ๆ ในเขตเทศบาล

นโยบายการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่สวยงาม

  • พัฒนาการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยการปรับปรุงระบบการจัดเก็บและการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้มีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาและปรับปรุงระบบระบายน้ำในเขตเทศบาลให้มีประสิทธิภาพ
  • สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนและให้ความร่วมมือหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • ปรับปรุงภูมิทัศน์ตามถนนสายหลัก สายรองและสวนสาธารณะให้มีความร่มรื่นสวยงามโดยส่งเสริมประชาชนให้มีจิตสำนึกในการสร้างความร่วมมือพัฒนาเมือง
  • อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุงสวนศรีโคตบูรให้เป็นสถานที่พักผ่อนและสวนสุขภาพ
  • รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่น

นโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อชนะความยากจน

  • พัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ของประชาชน
  • ส่งเสริมการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนในท้องถิ่น
  • ปรับปรุงตลาดสดให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาล
  • ประชาสัมพันธ์เพื่อความรู้ความเข้าใจในการเสียภาษีของประชาชนและเป็นการพัฒนารายได้ของเทศบาลอันที่จะนำไปพัฒนาท้องถิ่น
  • พัฒนาและก่อสร้างตลาดสดให้ได้มาตรฐานทั้งด้านการบริการความสะอาดและเก็บจัดเก็บอัตราค่าเช่าอย่างเป็นธรรม
  • จัดสร้างสถานธนานุบาลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง
  • การสนับสนุนข้อมูลเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชนและแหล่งข่าวการจ้างงานให้ผู้ว่างงาน
  • ส่งเสริมพิจารณาเศรษฐกิจระดับชุมชน และพัฒนากลุ่มอาชีพให้หลากหลาย ทั้งด้านเกษตรกรรมผลผลิตและธุรกิจต่าง ๆ
  • พัฒนาแหล่งส่งเสริมผลิตภัณฑ์เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยว

นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น

  • ส่งเสริมและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น
  • สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
  • พัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลให้มีคุณภาพและให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน (เมื่อได้รับการถ่ายโอนตาม พ.ร.บ. การถ่ายโอนฯ)
  • พัฒนาและส่งเสริมการกีฬาและกิจกรรมนันทนาการทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
  • ส่งเสริมการจัดตั้งชุมชนย่อยการพัฒนา ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
  • ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
  • ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสังคมสงเคราะห์และกิจกรรมสาธารณะประโยชน์
  • พัฒนาการให้บริการสาธารณสุขให้เพียงพอ และครอบคลุมพื้นที่
  • สนับสนุนและส่งเสริมในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น
  • ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรประชาคมชุมชนและเมืองให้เข้มแข็ง
  • พัฒนาองค์กรชุมชน สถาบันทางสังคมให้มีส่วนร่วมในการพิจารณาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 

นโยบายด้านการบริหารจัดการที่ดีและความโปร่งใส

  • พัฒนาการบริหารงานและการบริการให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง
  • พัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่ให้เพียงพอและทันสมัย
  • ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทศบาล
  • ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของท้องถิ่น
  • พัฒนาการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
  • พัฒนาบุคลากรของเทศบาลให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
  • พัฒนาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาทะเบียนราษฎรให้มีความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องในการบริการ การบริการเป็นเลิศและ One Stop Service
  • พัฒนาการส่งเสริมกิจการเทศพาณิชย์ที่จะต้องมีขึ้นในอนาคตอย่างมีระบบ
  • พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่นำมาพัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาองค์กรสู่การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)